วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกีวีขัดรองเท้าจากผงถ่านกะลามะพร้าว

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกีวีขัดรองเท้าจากผงถ่านกะลามะพร้าว
ที่มาและความสำคัญ 
              ด้วยสมาชิกกลุ่มได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  กีวีขัดรองเท้าจากถ่านกะลามะพร้าว เนื่องจากกลุ่มของข้าพเจ้าสังเกตพบว่า  นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านศรีพงันจะสวมรองเท้ามาโรงเรียน แต่รองเท้าจะสกปรกไม่เงางาม   เพราะนักเรียนหญิงส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กีวีขัดรองเท้า  ทางกลุ่มจึงได้ไปสำรวจและสอบถามเพื่อนนักเรียนหญิงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6  โดยตั้งคำถามว่า  “ทำไมรองเท้านักเรียนของเธอจึงสกปรกไม่เงางามแล้วทำไมเธอไม่ขัดรองเท้าของเธอกับกีวีขัดรองเท้า”  จากการสอบถามโดยมากแล้วจะได้คำตอบที่ต่างกัน  ดังนี้ คือ  “ไม่รู้จักกีวีขัดรองเท้า”  “กีวีรองเท้าคืออะไร”  “ไม่รู้จะไปซื้อกีวีขัดรองเท้าที่ไหนแถวบ้านไม่มีขาย”   “ไม่ได้ไปซื้อเพราะต้องออกไปซื้อที่ตลาดเจ๊ะเห  มันไกลจากคำตอบจะพบว่าคำถามที่นักเรียนหญิงตอบส่วนใหญ่  คือ  ไม่รู้จักกีวีขัดรองเท้า และไม่รู้จะไปซื้อกีวีขัดรองเท้าที่ไหน   ด้วยโรงเรียนของเราตั้งอยู่ไกลจากตลาด  การซื้อวัสดุและอุปกรณร์การเรียนบางอย่างจะต้องออกไปซื้อที่ตัวอำเภอตากใบ  ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนประมาณ  10-15  กิโลเมตร  ดังนั้นสมาชิกกลุ่มจึงได้คิดที่จะทำกีวีขัดรองเท้าของนักเรียนหญิงขึ้นโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่สามารถนำมาทำเป็นกีวีขัดรองเท้าได้ สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันคิดทำการสำรวจวัสดุที่เหลือใช้อยู่ในท้องถิ่น  จากการที่สมาชิกกลุ่มได้ไปทำ   การสำรวจพบว่า  ในชุมชนบ้านศรีพงันนั้นมีต้นมะพร้าวเยอะคนในชุมชนจะใช้มะพร้าวในการประกอบอาหารทุกบ้านจึงมีกะลามะพร้าวอยู่            
         สมาชิกกลุ่มจึงได้คิดที่จะทำกีวีขัดรองเท้าจากกะลามะพร้าวที่มี   อยู่ในท้องถิ่น  เป็นการนำเอาวัสดุที่เหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์  สามารถที่จะนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วัตถุประสงค์ 
1.  เพื่อประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์กีวีขัดรองเท้าจากถ่านกะลามะพร้าว                                    

สมมุติฐาน
กีวีขัดรองเท้าจากถ่านกะลามะพร้าว     จะขัดรองเท้าให้เงางาม

ตัวแปรที่ศึกษา 
          ตัวแปรต้น ถ่านกะลามะพร้าว,วาสลิน,เทียน
          ตัวแปรตาม         รองเท้าเงางาม  
          ตัวแปรควบคุม   อัตราส่วนผสมของผงถ่านกะลามะพร้าว,วาสลิน,เทียน 

ขอบเขตการศึกษา
1.  ช่วงเวลาในการศึกษาวันที่  1  -  15  เดือนกรกฎาคม   2553
2.  ทำการประดิษฐ์ชิ้นงานที่โรงเรียนบ้านศรีพงัน
3. ผงถ่านที่ใช้ในการทำเอามาจากการเผากะลามะพร้าวเท่านั้น
4.  ชิ้นงานที่ประดิษฐ์ไปลองใช้กับกลุ่มนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่  6   จำนวน  10  คน  โดยให้นักเรียนขัดรองเท้าจากกีวีที่ประดิษฐ์เป็นเวลา  3  วัน

คำนิยามศัพท์เฉพาะ
กีวี    หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการขัดรองเท้าหนังให้เกิดความเงางาม
ขัด   หมายถึง   ถูให้เกลี้ยง, ถูให้ผ่องใส, ถูให้ขึ้นเงา, เช่น ขัดขี้ไคล ขัดพื้น.
รองเท้า   หมายถึง  เกือก
ถ่าน    หมายถึง  ไม้ที่เผาแล้วจนสุกมีสีดํา โดยมากสําหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง.
มะพร้าว   หมายถึง  ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายต้นตาล ใบเป็นก้านยาวๆ มีใบแยกจากกัน ผลใช้ทำน้ำมันและปรุงอาหารต่างๆ.
เทียน  หมายถึง  เครื่องตามไฟที่ฟั่นที่หล่อด้วยขี้ผึ้งหรือไขเป็นต้น มีไส้อยู่ตรงใจกลาง, ลักษณนามว่า เล่ม

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.  ได้ผลิตภัณฑ์กีวีขัดรองเท้าจากถ่านกะลามะพร้าวไปขัดรองเท้าให้เกิดความเงางามน่าสวมใส่                                       
2.  สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์              



 (keywords)

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กีฬาเทควันโด

เทควันโด

           

เทควันโด (เกาหลี태권도MC: Taegwondo, MR: T'aekwŏndo, แท คว็อน โด) เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวโดยไม่ใช้อาวุธของชาวเกาหลี คำว่า "แท" (태) แปลว่า เท้าหรือการโจมตีด้วยเท้า; "คว็อน" (권) แปลว่า มือหรือการโจมตีด้วยมือ; "โท" (도) แปลว่า วิถีหรือสติปัญญา ดังนั้นเทควันโดโดยทั่วไป หมายถึง วิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัว หรือการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างมีสติ
จากประวัติศาสตร์ซึ่งเผยแพร่ในช่วงแรกนั้น ศิลปะการป้องกันตัวของประเทศเกาหลี มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ. 1955 องค์กรพิเศษได้รับการจัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสมาชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพลชเว ฮง-ฮึย (Choi Hong Hi) เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด (Taekwondo) มีที่มาจากแทกยน (Taekkyon) และคงซูโด (Kongsoodo)

ลำดับสายของเทควันโด (ในประเทศไทย)[แก้]

  • เริ่ม สายขาว
  • 10 สายเหลือง 1 (สายส้ม-ในบางยิม)
  • 9 สายเหลือง 2
  • 8 สายเขียว 1 (สีเขียวขี้ม้า-ในบางยิม)
  • 7 สายเขียว 2
  • 6 สายฟ้า 1 (ม่วง-ในบางยิม)
  • 5 สายฟ้า 2 (น้ำเงิน-ในบางยิม)
  • 4 สายน้ำตาล 1
  • 3 สายน้ำตาล 2
  • 2 สายแดง 1
  • 1 สายแดง 2
    • ในบางโรงเรียนมีการเรียนสายแดง 3 หรือ Pre-Black เพื่อเตรียมสำหรับการสอบในระดับสายดำ ขั้นที่ 1 หรือดั้งที่ 1
สำนักคุคกิวอนกำหนดให้มีสายดำทั้งสิ้น 10 ระดับ โดยเริ่มที่ระดับที่ 1 เป็นระดับแรกและใช้เงื่อนไขด้านระยะเวลา และอายุในการพิจารณาในการเลื่อนระดับขั้น (ดั้ง)
- ปัจจุบันรูปแบบของเทควันโดนี้ ไปอยู่ที่แคนาดา ตั้งสหพันธ์ ITTF เทควันโดเกาหลีใต้เป็นของ WTF เดิมเป็นหนึ่งเดียวกับ สำนักคุกกิวอน โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น KUKKIWON ACADEMY สถาบันการศึกษาเทควันโดโลก โดย ทำหน้าที่ ออกสายดำและตั้งกฎเกี่ยวกับการสอบสาย ประชาสัมพันธ์เทควันโด และ จัด ฮันมาดัง ส่วน WTF แยกออกไปทำหน้าที่ จัดการแข่งขัน วางนโยบายการแข่งขัน ฯลฯ โดยทั้งสองสถาบันก็ยังทำงานร่วมกันอยู่[1][2]- เทควันโดเกาหลี ไม่มีสายน้ำตาล - เทควันโดประกอบด้วย 4 ส่วนที่ต้องเรียนรู้ คือ 1.เคียวรูกิ (การต่อสู้เชิงแข่งขัน) 2.เคียกพ่า (การทดสอบจิตใจด้วยการทำลายสิ่งกีดขวาง) 3.พุมเซ(การทำท่าสมมติการต่อสู้ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าแพทเทิน ปัจจุบันมีการแข่งขันเป็นสากล) 4.โฮชินซูล (การป้องกันตัวอิสระในชีวิตจริง โดย การใช้มือเปล่าและอาวุธ ) โดยชมรม ส่วนมากในประเทศไทย จะมีอยู่ 2 อย่างคือ เคียวรูกิและพุมเซ - ดำแดง คือ สายดำ ที่อายุไม่ถึง 15 ปี (เพราะพลังทำลายและวุฒิภาวะยังไม่เหมาะสมทางสถาบันจึงไม่อาจให้คาดสายดำได้) - ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนคุกกิวอน สอบนักเรียนเปลี่ยนคุณวุฒิสายสี สอบนักเรียนเป็นสายดำและสอบนักเรียนเลื่อนดั้งต้องมีคุณวุฒิดั้ง 4-10 และมีรหัสอนุญาตจากคุกกิวอน - ผู้ได้รับสายสี เหลือง1-แดง2 (10ขั้น) เทควันโดเรียกว่า กุ้ป (Gup1-10) โดยไล่ตั้งแต่ Gup10 ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง Gup1 และถึงเปลี่ยนเป็นดั้ง 1 - ดั้ง 10 ประเทศไทยเรียก เหลือง1 เหลือง 2 จนถึง แดง 1 และ แดง 2 ส่วนดั้งเรียก ดำ1 ถึง ดำ 10

อ้างอิง

  1.  국기원::세계태권도본부 (เกาหลี)


วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติกีฬาไทย

ประวัติกีฬาไทย



   กีฬาไทยมีกำเนิดจากการละเล่นพื้นเมืองในเทศกาลต่าง ๆ เมื่อว่างจากการศึกสงคราม ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้ง “สมาคมกีฬาสยาม” วันที่ 5 มกราคม 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย พระยาภิรมย์ภักดีเป็นนายกสมาคมคนแรก กีฬาที่จัดแข่งขันเป็นประจำ คือ ว่าว ตะกร้อ และหมากรุกไทย
           พ.ศ. 2475 – 2480 นายยิ้ม ศรีพงษ์ เป็นนายกสมาคมกีฬาสยามคนที่ 2 มีการแข่งขันกีฬาหมากรุก ว่าว ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ ตะกร้อธง ตะกร้อข้ามตาข่าย และตะกร้อลอดบ่วง หลวงมงคลแมน (สังข์ บูรณะศิริ) คือ ผู้ประดิษฐ์ห่วงตะกร้อที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
           พ.ศ. 2480 – 2484 นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ร.น. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวงการพลศึกษาของเมืองไทย เป็นนายกสมาคมกีฬาสยาม คนที่ 3
           พ.ศ. 2487 ประเทศสยามเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทย
           พ.ศ. 2487 – 2490 พระยาจินดารักษ์ เป็นนายกสมาคม คนที่ 4
           พ.ศ. 2490 – 2498 พันเอกหลวงรณสิทธิ์พิชัย เป็นนายกสมาคม คนที่ 5 วันที่ 18 เมษายน 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับสมาคมกีฬาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
           พ.ศ. 2508 เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาแห่งเอเซีย (Association Sepak Takraw Federation of Asia)

  1. www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/.../story.htm

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล

 

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี
รูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
   การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
2. สมัยโรมัน (Roman)
3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)
6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)
         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
 


ยุคต่างๆของดนตรีสากล
         นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้

         1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
         2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H.   Handen
         3.Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  HaydnGluck   และMozart
         4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
         5.Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
         ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต ( Note )  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด
         วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน


  1. www.kwksch.ac.th/art/dontreesakon1.html